17 ส.ค. 2556

คำสมาส–คำสนธิ

   คำสมาส - การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤตตั้งแต่ 2 คำมาต่อกันหรือรวมกัน
ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
  1. เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส  ตัวอย่างคำสมาส 
บาลี + บาลี เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย อริยสัจ ขัตติยมานะ 
สันสกฤต + สันสกฤต เช่น แพทยศาสตร์ วีรบุรุษ วีรสตรี สังคมวิทยา 
บาลี + สันสกฤต, สันสกฤต + บาลี เช่น หัตถศึกษา นาฎศิลป์ สัจธรรม 
  2. คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น
วัฒน + ธรรม  =   วัฒนธรรม       
สาร + คดี      =   สารคดี
พิพิธ + ภัณฑ์   =   พิพิธภัณฑ์ 

กาฬ + ปักษ์    =   กาฬปักษ์
ทิพย + เนตร   =   ทิพยเนตร 

โลก + บาล     =   โลกบาล
เสรี + ภาพ     =   เสรีภาพ 
             

สังฆ + นายก   =   สังฆนายก
  3. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น
ภูมิศาสตร์  อ่านว่า พู-มิ-สาด             
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
เศรษฐการ  อ่านว่า เสด-ถะ-กาน          
รัฐมนตรี  อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
  4. คำที่นำมาสมาสกันแล้วความหมายหลักอยู่ที่คำหลังส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น
ยุทธ (รบ)+ภูมิ (แผ่นดิน  สนาม) = ยุทธภูมิ  (สนามรบ)
หัตถ (มือ) + กรรม (การงาน)   = หัตถกรรม  (งานฝีมือ)
คุรุ (ครู) + ศาสตร์ (วิชา)      =   คุรุศาสตร์  (วิชาครู)
สุนทร (งาม  ไพเราะ) + พจน์ (คำกล่าว) =   สุนทรพจน์  (คำกล่าวที่ไพเราะ)
  5. คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า ศัพท์ประกอบไว้หลัง การเขียนคำสมาสเหล่านี้ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น 
บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) = บุตรและภรรยา
  6. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้
เช่น       กาลสมัย ( กาน- ละ สะ -ไหม )
  7. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่าพระที่แผลงมาจากวรประกอบข้างหน้าจัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส  พระอรหันต์
  8. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน  เช่น   
-  คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์ 
คำที่ลงท้ายด้วยภัย เช่น อุทกภัย  วาตภัย   อัคคีภัย
-  คำที่ลงท้ายด้วยกรรม เช่น นิติกรรม  นวัตกรรม  กสิกรรม
  คำสนธิ -คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
1. สระสนธิ คือ การกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย    =   วิทยาลัย      พุทธ+อานุภาพ  =   พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ  =   มหรรณพ     นาค+อินทร์    =   นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์   =   มัคคุเทศก์    พุทธ+โอวาท    =   พุทโธวาท
รังสี+โอภาส    =   รังสิโยภาส   ธนู+อาคม     =   ธันวาคม
2. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น     รหสฺ + ฐาน =  รโหฐาน    มนสฺ + ภาว = มโนภาว  (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน  =  ทุรชน      นิสฺ + ภย  =  นิรภัย
3. นฤคหิตสนธิ ได้แก่ การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิต หรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิตกับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย     =   สมุทัย           สํ + อาคม   =   สมาคม
สํ + ขาร      =   สังขาร           สํ + คม      =   สังคม
สํ + หาร     =   สังหาร           สํ + วร       =    สังวร



แบบทดสอบที่ ๕

๑.“วัฒนธรรม” คือคำใดบวกกับคำใด?
ก.วัฒน์+ธรรม                ข.วัฒน+ธรรม
ค.วัฒน+อธรรม               ง.วัฒ+นธรรม
#ข.วัฒน+ธรรม#
๒.ข้อใดจัดเป็นคำสระสนธิ?
ก.มหรรณพ                   ข.วิทยาลัย
ค.ธันวาคม                   ง.ถูกทุกข้อ
#ง.ถูกทุกข้อ#
๓.ข้อใดจัดเป็นคำพยัญชนะสนธิ?
ก.มัคคุเทศก์                   ข.พุทธานุภาพ
ค.มหรรณพ                    ง.ทุรชน
#ง.ทุรชน#
๔.ข้อใดจัดว่าไม่ใช่คำนฤคหิตสนธิ?
ก.สมุทัย                      ข.สังขาร
ค.สังหาร                      ง.ผิดทุกข้อ
#ง.ผิดทุกข้อ#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment

Flag Counter