17 ส.ค. 2556

คำบาลี – สันสกฤต

   ภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ เช่น ลึงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก
  โครงสร้างของภาษา ประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
1.หน่วยเสียงสระ  หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
·         หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
2.หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง
·         หน่วยเสียงภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสิ้นภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
·         วิธีสังเกตคำบาลี
 1. สังเกตจากพยัญชนะ ตัวสะกด และตัวตาม
·         ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์
·         ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น  สัตย  สัจจ  ทุกข  เป็นต้น 
คำในภาษาบาลีจะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้
แถวที่
1
2
3
4
5
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
ย ร
ล ว
ส ห
ฬ อัง

2. สังเกตจากพยัญชนะ จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ
 อาสาฬห์  วิฬาร์  โอฬาร์  พาฬ  เป็นต้นมีหลักสังเกต ดังนี้

ก. พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
ข. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
ค. ถ้าพยัญชนะตัวที่ สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คพภ(ครรภ์)
ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่  5  สะกดทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้


แบบทดสอบที่ ๖

๑.ภาษาบาลีและสันสกฤต มีหน่วยเสียงสองประเภทคือ?
ก.หน่วยเสียงสระ-หน่วยเสียงพยัญชนะ      ข.หน่วยเสียงสระ-หน่วยเสียงวรรณยุกต์
ค.หน่วยเสียงวรรณยุกต์-หน่วยเสียงพยัญชนะ     ง.หน่วยเสียงนำ-หน่วยเสียงตาม
#ก.#
๒.ข้อใดจัดเป็นวิธีสังเกตคำบาลี?
ก.สังเกตจากพยัญชนะ ตัวสะกด และตัวตาม ข.สังเกตจากพยัญชนะ 
ค.ถูกเฉพาะข้อ ข.                         ง.ถูกทั้งข้อก. และ ข.
#ง.#
๓พยัญชนะบาลีมีกี่ตัว? และแบ่งออกเป็นกี่วรรค?
ก.๓๓ ตัว ๕ วรรค                         ข.๓๔ ตัว ๕ วรรค
ค.๓๓ ตัว ๖ วรรค                         ง.๓๔ ตัว ๖ วรรค
#ค.#
๔.ข้อใดจัดเป็นคำสันสกฤต?
ก.วิเศษ                                   ข.สัตย    

ค.ปัจฉิม                                  ง.บุปผา
#ก.#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment

Flag Counter